![]() |
![]() |
Home | กรรมการสมาคม | บทความวิจัย | Webboard | ประชาสัมพันธ์ | สมัครสมาชิกสมาคม |
จะประเมินผู้เรียนว่าเด็กมีความสามารถในการคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือแบบอริยสัจ ด้วยวิธีการใด ด้วยแบ | |
ขอคำปรึกษาและความรู้ครับ ผมต้องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนิการ ซึ่งมีแนวคิดรือหลักการคิดอยู่ 10 วิธีการคิด เช่น ผมสอนเด็กโดยใช้วิธีการคิดแบบอริยสัจ และแบบแยกแยะส่วนประกอบ แต่ยังไม่กระจ่างว่าจะมีวิธีการในการประเมินการคิดใน 2 แบบนี้อย่างไร ด้วยวิธีการใด และด้วยแบบประเมินที่มีลักษณะอย่างไร (ขอตัวอย่างด้วยครับ) จึงจะสะท้อนการคิดทั้ง 2 แบบนี้ได้ดีที่สุด และสามารถที่จะบอกได้ว่าเด็กแต่ละคนมีการคิดทั้ง 2 แบบนี้อยู่ในระดับใด ขอบคุณครับ | |
ผู้ตั้งกระทู้ ครูต่างจังหวัด :: วันที่ลงประกาศ 2017-05-10 07:24:55 IP : 1.46.166.37 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (4048183) | |
ก่อนอื่นขอชมก่อนเลยค่ะ ที่ อาจารย์จะใช้วิธีสอนอะไร ก็คิดเชื่อมโยงไปด้วยว่าจะประเมินตามสิ่งที่สอนอย่างไรด้วย ส่วนใหญ่ใช้วิธีสอนแบบอริยสัจ แต่ประเมินก็พูดว่าสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งไม่รู้แปลว่าอะไร ถ้าสอนด้วยอริยสัจ ก็แปลว่า อยากรู้ว่า นร.จะแก้ปัญหาแบบอริยสัจได้ไหม หรือจะสอนให้แยกแยะส่วนประกอบ ก็ต้องประเมินว่า แยกแยะส่วนประกอบเป็นไหม แบบนี้ถูกต้องเลยค่ะ อริยสัจ คือสอนให้คิดแก้ปัญหาเป็น ประเมินก็ต้องประเมินว่า นร.แก้ปัญหาด้วยการคิดแบบอริยสัจ เป็นไหม เช่น ถ้าออกข้อสอบ ก็ถามว่า โจทย์ข้อนี้ อะไรคือทุกข์ หรืออะไรคือปัญหา ข้อใดต่อไปนี้คือปัญหา เป็นต้น อะไรคือสมุทัย ก็คือ ข้อใดต่อไปนี้คือสาเหตุของปัญหานี้ นิโรธ คือข้อใดต่อไปนี้ ควรเป็นเป้าหมายของการแก้ปัญหานี้ หรือการจะแก้ปัญหานี้ ควรเป็นไปเพื่อเป้าหมายอะไร นี่คือนิโรธ และมรรค คือข้อใดต่อไปนี้เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหานี้ หรือปัญหานี้ จะแก้ด้วยทางใดจึงจะเหมาะสม นี่คือการถามเพื่อประเมิน อจ.จะทำเป็นแบบทดสอบปรนัย แยกย่อยถาม หรือจะถามเป็นชุด เลยก็ได้ เป็นข้อสอบอัตนัย ก็ได้ ก็ให้ตอบเป็นชุดแบบนี้ เวลาวิเคราะห์ผลการสอบ ถ้า อจ.ทำข้อสอบปรนัย แล้วแยกเป็นข้อย่อย ๆ เวลาวิเคราะห์ อจ.จะรู้ว่าข้อไหนคือถามปัญหา-ทุกข์ ข้อไหนบ้าง ถามสาเหตุ-สมุทัย ข้อไหนบ้างถามเป้าหมาย-นิโรธ และข้อไหนบ้างถาม มรรค ถ้า อจ.ทำข้อสอบเป็นชุดแบบนี้ เวลาวิเคราะห์ผล อจ.จะรู้เลยว่า นร.มีปัญหา หรือทำได้ดีที่ตรงไหน เช่น มองปัญหา-ทุกข์ เป็น ได้คะแนนส่วนนี้ดี แต่กำหนดเป้าหมายที่จะแก้ หรือนิโรธ ไม่ค่อยเป็น เช่นนี้เป็นต้น ค่าคะแนน จะจำแนกความสามารถ นร.ได้ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เขาทำคะแนนด้านไหนดี ด้อย แทนที่จะมาเหมารวมคะแนนไปหมด ว่า ได้ 20 ส่วน 30 แบบนี้ เรียกว่าออกข้อสอบ ได้ผลมาวิเคราะห์ไม่คุ้มค่า ต้องให้รู้ว่า ในอริยสัจ นี้ เขาดีขั้นไหน ด้อยขั้นไหน แบบนี้ จะเยี่ยมเลย แทนที่จะไปเอาแต่คะแนนรวม ผลของคะแนน จะเป็นข้อมูลที่เป็น ปย.ต่อการจะพัฒนาปรับปรุง นร. ว่าควรทำที่จุดไหน ถ้าหากจะให้ นร.ปฏิบัติงาน แล้วจะประเมินการทำงาน แล้วดูว่าเขามีทักษะแก้ปัญหาแบบอริยสัจไหม ก็ทำได้เช่นกัน เมื่อเขาทำงานแล้ว อจ.ก็ทำแบบสอบถาม ถามเขา ทำนองเดียวกันกับที่ว่าไปในการออกข้อสอบ ทำแบบเดียวกัน สอบถาม เขาว่า ปัญหาคืออะไร สาเหตุของปัญหาจากการทำงานนี้คืออะไร การแก้ปัญหานี้ เป้าหมายคืออะไร และใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา นี่ก็เป็นการเอาอริยสัจ มาเป็นกรอบการสร้างข้อรายการในแบบสอบถามได้เช่นกันค่ะ การแยกแยะองค์ประกอบ ก็ทำนองเดียวกันค่ะ สอนให้ นร.แยกแยะองค์ประกอบได้ ว่าอะไรเป็นส่วนประกอบของกันและกัน อะไรทีไม่ใช่องค์ประกอบของเรื่องนี้ อะไรเกี่ยวข้อง อะไรไม่เกี่ยวข้อง อะไรเป็นส่วนประกอบหลัก อะไรเป็นส่วนประกอบรอง ย่อย ลดหลั่นกัน อะไรอิงอาศัยกัน อะไรไม่อิงอาศัยกัน อะไรที่ขาดหายไป อะไรที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ถ้าจะเติมเต็มให้สมบูรณ์ ต้องเป็นอะไร เหล่านี้เป็นตัวอย่างการถามในเรื่องการแยกแยะองค์ประกอบ ทั้งสิ้นเลยค่ะ การสอนแยกแยะองค์ประกอบ จะถามจากโจทย์ที่เป็นเรื่องราว เหตุการณ์ ชีวิต แบบสอนสังคมศึกษา หรือจะเป็นวัตถุสิ่งของ แบบสอน เช่่น วิทยาศาสตร์ ก็ได้ทั้งสิ้นค่ะ อยู่ที่ อจ.สอนเรื่องอะไร ทักษะนี้ก็เอาไปใช้ได้ทุกเรื่องค่ะ ทั้งสองเรื่อง บอกไม่ได้หรอกค่ะว่าไหนดีกว่ากัน ดีทั้งคู่แหละ เพราะมันขึ้นกับว่า เป้าหมายการสอนของ อจ.คืออะไรต่างหาก มันเป็นการคิด คนละแบบกัน โยนิโส 10 วิธีคิด ก็ไม่ใช่ว่า วิธีคิดแบบไหนดีกว่ากัน อย่าพยายามหาคำตอบนี้ ผิดค่ะ บางสถานการณ์เราก็ต้องรู้จักคิดแบบนี้ อีกเรื่องก็ต้องรู้จักคิดอีกแบบ ไม่เคลียร์ก็สอบถามมาได้อีก นะคะ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น นาตยา วันที่ตอบ 2017-05-10 16:00:11 IP : 1.0.201.99 |
ความคิดเห็นที่ 2 (4048187) | |
กราบขอบพระคุณอาจารย์ด้วยครับ ที่ให้ความกระจ่าง และยกตัวอย่างการประเมินการคิดแบบอริยสัจและแบบแยกแยะองค์ประกอบ ให้เห็นได้ชัดเจน ผมจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการคิดของลูกศิษย์ต่อไปครับ ต้องขอบคุณอีกครั้งครับที่อาจารย์ให้บริการความรู้ ให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์กับครูที่เกิดความสงสัย หรือไม่เข้าใจประเด็นใดก็อุ่นใจครับ เพราะมีแหล่งเรียนรู้เรื่องการศึกษาคอยให้คำแนะนำ ตลอดเวลา | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ครูต่างจังหวัด วันที่ตอบ 2017-05-10 17:05:37 IP : 1.46.166.37 |
ความคิดเห็นที่ 3 (4048194) | |
ยินดีค่ะ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น นาตยา วันที่ตอบ 2017-05-10 20:17:20 IP : 1.47.106.56 |
ความคิดเห็นที่ 5 (4049454) | |
ยินดีด้วยค่ะ กับความสำเร็จของ อจ. ที่ อจ.ทำมานี้ ไม่ใช่เกณฑ์ค่ะ เป็นเพียงการให้นิยาม ความหมายของการคิดแต่ละแบบ เท่านั้น เกณฑ์ประเมินต้องเขียนเป็น rubric ค่ะ ลองส่งงาน หรือปรึกษาทางเมล์ดีไหมคะ ตรงนีั้เดี๋ยวมันจะยืดยาว ถ้าสนใจ fedunyp@ku.ac.th ค่ะ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น นาตยา วันที่ตอบ 2017-05-19 16:27:56 IP : 1.10.198.3 |
ความคิดเห็นที่ 6 (4049510) | |
ครับ กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ครูต่างจังหวัด วันที่ตอบ 2017-05-20 09:02:11 IP : 10.0.2.235 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 126531 |